วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

วิชาสุนทรียภาพของชีวิต

ความจริงของชีวิต

ความจริงของชีวิต
(หลักกรรมและการเวียนว่ายตายเกิด)
เรื่องสำคัญยิ่งใหญ่อีกเรื่องหนึ่งในพระพุทธศาสนาคือเรื่องหลักกรรมและการเวียนว่ายตายเกิดที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า The Law of Karma and Rebirth
ความเข้าใจเรื่องกรรมและการเวียนว่ายตายเกิดจะช่วยแก้ปัญหาชีวิตได้ทุกแง่ทุกมุม ทำให้ไม่ต้องน้อยใจในชะตาชีวิตของตนและไม่ริษยาความสุขของผู้อื่น เพราะได้เห็นแจ้งแล้วว่า ความสุขทุกข์ รุ่งเรือง หรือล้มเหลวในชีวิตของแต่ละคนนี้เป็นผลรวมแห่งกรรมของตน หรือกรรมแห่งหมู่คณะของตนเป็นต้น
เรื่องกรรม ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความไม่เท่าเทียมกันของมนุษย์ความแตกต่างกันในเรื่องอุปนิสัยใจคอของคน แม้อยู่ในสิ่งแวดล้อมอย่างเดียวกันและมีมารดาบิดาเดียวกัน ได้รับการอบรมอย่างเดียวกัน  
ความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งเรื่องกรรม ทำให้บุคคลมีน้ำอดน้ำทน มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ท้อถอย มีความเพียรสั่งสมกรรมดีขยาดต่อกรรมชั่ว ไม่ตีโพยตีพายเมื่อผิดหวัง และไม่ระเริงหลงในเมื่อประสบผลดี เราะมารู้แจ้งว่าผลทุกอย่างย่อมมีมาเพราะเหตุ
เรื่องกรรมช่วยให้บุคคลกล้าเผชิญชีวิตอย่างกล้าหาญเด็ดเดี่ยว สามารถมองเห็นแง่ดีแม้ของความผิดหวัง หรือส่งที่เรียกกันว่าโชคร้าย เพราะแจ่มแจ้งว่า มันเป็นการใช้หนี้กรรมอย่างหนึ่ง ทำให้เรือชีวิตเบาขึ้น ทำให้แล่นไปข้างหน้าได้รวดเร็วขึ้น เหมือนบุคคลมีหนี้สิน เมื่อได้ใช้หนี้ไปเสียบ้าง ย่อมทำให้สบายใจขึ้น เบาใจขึ้น
หลักกรรมจะเป็นไปไม่ได้ ถ้าไม่มีการเกิดใหม่หรือการเวียนว่ายตายเกิด เพราะมีปัญหาชีวิตหลายอย่างที่ไม่อาจเข้าใจได้ ถ้าปราศจากการเวียนว่ายตายเกิดหรือที่เรียกว่า สังสารวัฏเช่นปัญหาเรื่องคนดีบางคนมีชีวิตอยู่อย่างทุกข์ทรมาน และคนชั่วบางคนมีชีวิตอยู่อย่างสุขสำราญเป็นต้น ปัญหานี้จะเป็นเรื่องค้างโลกถ้ากฎแห่งกรรมและการเกิดใหม่ไม่เข้ามาช่วยแก้
อนึ่ง ช่วงชีวิตเพียงช่วงเดียวของบุคคลสั้นเกินไปไม่เพียงพอพิสูจน์กรรมที่บุคคลทำไว้แล้วได้ทั้งหมด การเกิดใหม่จะช่วยอธิบายกรรมในอดีตของคนได้อย่างดีที่สุด ดังนั้นชีวิตมนุษย์จึงเป็นสนามหรือเวทีสำหรับทดลองแรงกรรม ว่าใครได้ทำกรรมอะไรไว้มา น้อย เบาบาง หรือรุนแรงเพียงใด
                ด้วยประการฉะนี้ การศึกษาให้รู้แจ้งในเรื่องกรรมและการเวียนว่ายตายเกิดจึงเป็นกุญแจดอกสำคัญไปสู่การดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง มีผลเป็นความสุข สงบแก่ผู้ศึกษาเรียนรู้ มีประโยชน์ในการพัฒนาชีวิตจิตใจให้สูงขึ้นร่มเย็นและทำให้เห็นว่าการเกิดของเรามีความหมาย ไม่ใช่เกิดมาโดยบังเอิญ มีชีวิตอยู่อย่างหลักลอยปล่อยตัวและตายไปอย่างน่าสมเพชเวทนา
                เรื่องกรรม และการเวียนว่ายตายเกิดทำให้บุคคลหายงมงายหายตื่นเต้นต่อความขึ้นลงของชีวิต ช่วยคลี่คลายความข้องใจในความสับสนของชีวิต เป็นเรื่องที่พุทธศาสนิกผู้นับถือพระพุทธศาสนา ควรเรียนรู้และทำความเข้าใจให้แจ่มแจ้งเพื่อชีวิต เป็นเรื่องที่พุทธศาสนิกผู้นับถือพระพุทธศาสนา ความเรียนรู้และทำความเข้าใจให้แจ่มแจ้งเพื่อชีวิตของตนเองจะได้ดีขึ้นและทำผู้ใกล้ชิด เช่น บุตรหลาน หรือบริวารชนให้มีความเข้าใจในปัญหาชีวิตของตน
                ครู ผู้สอนวิชาศาสนาหรือวิชาอื่นใดก็ตามควรย้ำให้นักเรียนเข้าใจและเชื่อมั่นในเรื่องหลักกรรมและสังสารวัฎเพราะอันนี้คือพื้นฐานอันจะทำให้ศีลธรรมมั่นคงในจิตใจของเยาวชนเหล่านั้น
                ต่อไปนี้เป็นพระราชปรารภในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7 แห่งบรมจักรีวงศ์)
สำหรับพระพุทธศาสนานั้น ข้าพเจ้ามีความเห็นว่าสิ่งที่เราควรจะสอนให้เข้าใจแลบะให้เชื่อมั่นเสียตั้งแต่ต้นทีเดียวคือสิ่งที่เป็นหลักสำคัญของพระพุทธศาสนา นั่นคือ วัฏฏสงสาร การเวียนว่ายตายเกิดและกรรม ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว เป็นหลักสำคัญของพระพุทธศาสนาเพราะหนทางปฏิบัติของพุทธศาสนาก็เพื่อให้พ้นจากวัฏฏสงสาร อันเป็นความทุกข์แต่สิ่งที่ดีประเสริฐยิ่งนั้นคือความเชื่อในกรรม แต่จะสอนแต่เรื่องกรรมอย่างเดียว ไม่สอนเรื่องวัฏฏสงสารด้วยก็ไม่สมบูรณ์
                ความเชื่อในกรรม ข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นของประเสริฐยิ่งควรเพาะให้มีขึ้นในใจของคนทุกคน และถ้าคนทั้งโลกเชื่อมั่นในกรรมแล้ว มนุษย์ในโลกจะได้รับความสุขใจขึ้นมาก เป็นสิ่งที่ทำให้คนขวนขวายทำแต่กรรมดีโดยหวังผลที่ดี เรื่องวัฏฏสงสารและกรรมนี้เป็นของต้องมีความเชื่อ เพราะเป็นของที่น่าเชื่อกว่าความเชื่ออีกหลายอย่าง
                ข้าพเจ้าเชื่อแน่ว่า ถ้าคนเราเชื่อกรรมจริง ๆ แล้ว ควรจะได้ความสุขใจไม่น้อย โดยที่ไม่ทำให้รู้สึกท้อถอยอย่างไร
                ข้าพเจ้าเห็นว่า เราควรพยายามสอนเด็กให้เชื่อมั่นในกรรมเสียแต่ต้นทีเดียว ยิ่งให้เชื่อได้มากท่าไรยิ่งดี ควรให้ฝังเป็นนิสัยทีเดียว

กฎแห่งกรรม

                หลักกรรมหรือกฎแห่งกรรมมีอยู่ว่า บุคคลทำกรรมใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เขาย่อมต้องได้รับผลแห่งกรรมนั้นแต่เนื่องจากกรรมบางอย่างหรือการกระทำบางคราวไม่มีผลปรากฏชัดในทันที ผู้มีปัญญาน้อยจึงมองไม่เห็นผลแห่งกรรมของตน ทำให้สับสนและเข้าใจไขว้เขว เพราะบางทีกำลังทำชั่วอยู่แท้ ๆ มีผลดีมากมาย เช่น ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข หลั่งไหลเข้ามาในชีวิต ตรงกันข้ามบางคราวกำบังทำความดีอยู่อย่างมโหฬาร แต่กลับได้รับความทุกข์ทรมานต่าง ๆ มีผลไม่ดีมากมาย เช่น ความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกนินทาว่าร้ายถูกสบประมาท และความเจ็บไข้ได้ป่วยหลั่งไหลเข้ามาในชีวิต
                ความสลับซับซ้อนดังกล่าว ทำให้ผู้รับผลของกรรมสับสน เกิดความไม่แน่ใจว่าสิ่งที่ตนทำนั้นเป็นความชั่วจริง ๆ หรือ ?
                ตามความเป็นจริงแล้ว กรรมชั่วที่เขากำลังทำอยู่ยังไม่ทันให้ผล กรรมดีที่เขาเคยทำไว้ก่อนถึงวาระให้ผลในขณะที่คนผู้นั้นกำลังทำชั่วอยู่ จึงทำให้เขาได้รับผลดีถ้าเปรียบทางวัตถุก็จะมองเห็นง่ายขึ้น เช่นคน ๆ หนึ่งกำลังปลูกต้นไม้อันเป็นพิษอยู่ มีผลไม้หอมหวานอร่อยสุกมากมายในสวนของเขา  เขาได้ลิ้มรสอันอร่อยของผลไม้ซึ่งเขาปลูกไว้ก่อน ต่อมาต้นไม้มีพิษออกผลในขณะที่เขากำลังปลูกต้นไม้ที่มีผลอร่อยอยู่ เขาบริโภคผลไม้มีพิษ รู้สึกได้รับทุกเวทนาข้อนี้ฉันใด กรรมกับผู้กระทำกรรมก็ฉันนั้น กรรมดีย่อมให้ผลดี กรรมชั่วย่อมให้ผลชั่ว แต่เพราะกรรมจะให้ผลก็ต่อเมื่อสุกเต็มที่แล้ว (Maturation) และมีความสลับซับซ้อนมาก จึงทำให้งง ทั้งนี้ สามเหตุหนึ่งก็เพราะสติปัญญาของคนทั่วไปมีอยู่อย่างจำกัดมาก เหมือนแสงสว่างน้อย ๆ ไม่พอที่ส่องให้เห็นวัตถุอันสลับซับซ้อนอยู่มากมายในบริเวณอันกว้างใหญ่และบริเวณนั้นถูกปกคลุมอยู่ด้วยความมืด เมื่อใดดวงปัญญาของเขาแจ่มใสขึ้น เขาย่อมมองเห็นตามเป็นจริง ปัญญาของเขายิ่งแจ่มใสขึ้นเพียงใดเขาย่อมสามารถมองเห็นเรื่องกรรมและความสบับซับซ้อนของชีวิตมากขึ้นเพียงนั้น เหมือนแสงสว่างมีมากขึ้นเพียงใด ผู้มีจักษุปกติย่อมสามารถมองเห็นวัตถุอันละเอียดมากขึ้นเพียงนั้น
                สิ่งใดที่ละเอียดมาก เช่น จุลินทรีย์ มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นนักวิทยาศาสตร์เขาใช้เครื่องมือคือกล้องจุลทรรศน์ซึ่งมีอานุภาพขยายเป็นพัน ๆ เท่าของวัตถุจริง จึงทำให้มองเห็นได้ สิ่งใดอยู่ไกลมากระยะสายตาธรรมดาไม่อาจทอดไปถึงได้นักวิทยาศาสตร์เขาใช้กล้องส่องทางไกล จึงสามารถมองเห็นได้เหมือนวัตถุซึ่งปรากฏอยู่ ณ ที่ใกล้ข้อนี้ฉันใด
                ผู้ได้อบรมจิตและปัญญาแล้วก็ฉันนั้น เป็นนักวิทยาศาสตร์ทางจิต สามารถเห็นได้ละเอียดรู้ได้ไกลซึ่งเรื่องกรรมและผลของกรรม ชนิดที่สามัญชนมองไม่เห็นหรือมองให้เห็นได้โดยยาก ทั้งนี้ เพราะท่านมีเครื่องมือคือปัญญาหรือญาณสามัญชนไม่มีปัญญาหรือญาณเช่นนั้นจึงมองไม่เห็นอย่างที่ท่านเห็น เมื่อท่านบอกให้บากคนก็เชื่อตาม บางคนไม่เชื่อ ใครเชื่อก็เป็นประโยชน์แก่เขาเองทั่งด้านการดำเนินชีวิตและจิตใจ หาความสุขได้เอง
                ผู้เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม ได้กำไรกว่าผู้ไม่เชื่อคือทำให้เว้นชั่ว ทำดีได้มั่นคง ยั่งยืนกว่าผู้ไม่เชื่อ ทำให้เป็นคนดีในโลกนี้ จากโลกนี้ไปแล้วก็ไปบีนเทิงในโลกหน้าเมื่อประสบปัญหาชีวิตอันแสบเผ็ดก็สามารถทำใจได้ว่า มันเป็นผลของกรรมชั่วเมื่อประสบความรื่นรมย์ในชีวิตก็ไม่ประมาท มองเห็นผลแห่งกรรมดีและหาทางพอกพูนกรรมดีต่อไป

                เรื่องทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

                เรื่องนี้เป็นความจริงอย่างยิ่ง แต่ที่คนส่วนมากยังลังเลหรือเข้าใจผิดไปบ้างก็เพราะความสลับซับซ้อนของกรรมและการให้ผลของมัน การได้ดีหรือได้ชั่วนั้น ถ้าเอาวัตถุภายนอกเป็นเครื่องตัดสินก็ลำบากหน่อย ต้องรอคอยบางทีขณะที่กำลังรอคอยอยู่นั้น ผลของกรรมอื่นแทรก แซงเข้ามาเสียก่อน ยิ่งทำให้ผู้ทำกรรมซึ่งกำลังรอคอยผลอยู่นั้นงงและไขว้เขวไปใหญ่
               
ผลภายนอกและผลภายใน
ผลภายนอก คือ ผลที่ตนเองและคนอื่นมองเห็นได้ง่ายอย่างธรรมดาสามัญ เพราะมันมาเป็นวัตถุสิ่งของหรือสิ่งสมมติ เช่น ลาภยศ สรรเสริญ ความเพลิดเพลินความมีหน้ามีตาในสังคมเพราะมีทรัพย์เกื้อหนุนให้เป็นหรือในทางตรงกันข้าม เช่น เสื่อมทรัพย์ อัปยศ ถูกนินทา ติเตียน มีความทุกข์ต่าง ๆ รุมสุมเข้ามาเช่นความเจ็บป่วย ความต้องพลัดรากจากปิยชนมีบุตร ภรรยา (สามี) เป็นต้น
ลาภ ยศ สรรเสริญ สุขนั้น คนทั้งหลายพากันฝังใจเชื่อว่าเป็นผลดีหรือผลของกรรมดี ส่วนเสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกนินทาติเตียนและทุกข์นั้นเป็นผลชั่วหรือผลของกรรมชั่ว แต่ในชีวิตปัจจุบันที่เห็น ๆ กันอยู่หาได้เป็นเช่นนั้นเสมอไปไม่   ลาภอันให้เกิดขึ้นโดยทุจริต มิจฉาชีพก็ได้ โดยสุจริต สัมมาชีพก็ได้ ยศอาจเกิดขึ้น โดยประจบสอพลอก็ได้ โดยการประกอบการงานอย่างขยันมั่นเพียรก็ได้ สรรเสริญอาจเกิดขึ้นเพียงเพราะผู้สรรเสริญเข้าใจผิดหรือเพราะเป็นพวกเดียวกันมีอคติอยู่ในใจก็ได้เพราะมีคุณความดีจริง  ก็ได้ส่วนความสุข ความเพลิดเพลินนั้นเกิดขึ้นได้หลายวิธี สุดแล้วแต่ชอบ บุคคลชอบสิ่งใดเมื่อได้สิ่งนั้นตามปรารถนาก็รู้สึกสุข เพลิดเพลินไปพักหนึ่ง เมื่อสิ่งนั้นเปลี่ยนแปลงไป ไม่สมใจปรารถนาก็เป็นทุกข์
ในฝ่ายเสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกนินทา ทุกข์ ก็มีนัยเดียวกันกับฝ่ายลาภ ยศ คืออาจเกิดขึ้นเพราะการทำดีหรือทำชั่วก็ได้ ตัวอย่างเช่น ผู้ทำความดีโดยการบริจาคทรัพย์เพื่อสาธารณกุศลเป็นจำนวนล้าน ทรัพย์นั้นของเขาต้องลดจำนวนลง จะเรียกว่าเสื่อมลาภไม่ คนทำความดีอาจถูกถอดยศก็ได้ เมื่อทำไม่ถูกใจของผู้มีอำนาจให้ยศหรือถอดยศ คนทำดีอาจถูกติเตียนก็ได้ ถ้าคนผู้ติเตียนมีใจไม่เป็นธรรม หรืออคติจงใจใส่ร้ายเขา คนทำดีอาจต้องประสบทุกข์ได้เพราะต้องมีความอดทนต่อความลำบากตรากตรำและความเจ็บใจ เช่น ความลำบากกายลำบายใจในการเลี้ยงดูบุตรและสั่งสอนบุตรให้เป็นคนดี ซึ่งท่านเรียกว่า ความทุกข์ที่ต้องลงทุน (Per-payment)
ผลภายนอกเป็นของไม่แน่นอนอย่างนี้ ถ้าถือเอาผลภายนอกมาเป็นเครื่องตัดสินผลของกรรมย่อมทำให้สับสนเพราะบางคราวผลที่เกิดขึ้นสมแก่กรรม แต่บางคราวไม่สมแก่กรรมเท่าที่บุคคลพอจะมองเห็นได้ในระยะสั้น
ส่วนผลภายใน คือ ผลที่เกิดขึ้นแก่จิตใจของผู้ทำเป็นผลที่แน่นอนกว่า คือ คนทำความดี รู้สึกตนว่าได้ทำความดีจิตใจย่อมผ่องใสขึ้น จิตสูงขึ้น ส่วนคนทำชั่วรู้สึกตนว่าเป็นคนทำชั่ว จิตย่อมเศร้าหมองไป อาการที่จิตเศร้าหมองหรือผ่องแผ้วนั้นเองเป็นผลโดยตรงของกรรมดี กรรมชั่ว สุขทุกข์ของบุคคลอยู่ที่อาการเศร้าหมองหรือผ่องแผ้วของดวงจิตมากกว่าอย่างอื่น ทรัพย์สิน สมบัติ ชื่อเสียง เกียรติยศ จะได้มามากเพียงใดก็ตาม ถ้าใจเศร้าหมอง ทุรนทุรายอยู่ด้วย โลภ โกรธหลงอยู่เสมอแล้ว สิ่งเหล่านั่นหาสามารถให้ความสุขแก่เจ้าของเท่าที่ควรไม่ ตรงกันข้ามกลับเป็นสิ่งให้ทุกข์เดือดร้อนเสียอีก ผู้มีใจผ่องแผ้วเต็มที่ เช่น พระอรหันต์ แม้ไม่มีทรัพย์สมบัติภายนอกที่ชาวโลกกรหายใด ๆ เลยแต่ท่านมีความสุขมากเป็นความสุขที่ไม่เจือด้วยทุกข์               

กรรม 12

                ในตอนนี้เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้รู้รายละเอียดแห่งกรรมจึงขอกล่าวถึงกรรม 12 ซึ่งจัดตามหน้าที่จัดจามแรงหนักเบาและจัดตามกาลที่ให้ผล เมื่อทราบคำจำกัดความของกรรมประเภทต่าง ๆ แล้ว ผู้อ่านบางท่านอาจเข้าใจได้เลย บางท่านอาจยังไม่เข้าใจ ท่านที่ยังไม่เข้าใจก็อย่างเพิ่งใจร้อน ทำใจเย็น ๆ ไว้ก่อนและขอให้อ่านต่อไป จะเข้าใจได้ดีขึ้นอย่างแน่นอน

กรรมจัดตามหน้าที่มี 4

1.       ชนกกรรม กรรมที่ก่อให้เกิดหรือส่งให้เกิดในกำเนิดต่าง ๆ เปรียบเสมือนมารดาของทารก ชนก - กรรมนี้เป็นผลของอาจิณณกรรมบ้างของอาสันนกรรมบ้าง
2.       อุปถัมภกกรรม กรรมอุปถัมภ์ เป็นเสมือนพี่เลี้ยงนางนม มีทั่งฝ่ายดีและฝ่ายไม่ดี
3.       อุปิฬกกรรม กรรมบีบคั้น มีหน้าที่บีบคั้นกรรมดีหรือชั่วให้เพราะลง
4.       อุปฆาตกรรมหรืออุปัจเฉทกรรม กรรมตัดรอน มีหน้าที่ตัดรอนกรรมทั่งฝ่ายกุศลและอกุศล

กรรมจัดตามแรงหนักเบามี 4

1.       ครุกรรม กรรมหนัก ฝ่ายดีหนมายถึงฌาณ วิปัสสนา มรรค ผล ฝ่ายชั่วหนมายถึงอนันตริกรรม 5 คือ ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์ ทำพระพุทธเจ้าให้ห้อพระโลหิต ทำสงฆ์ผู้สามัคคีกันให้แตกกัน
2.       อาติณณกรรมหรือพหุลกรรม กรรมที่ทำจนเคยชินหรือทำมาก ทำสม่ำเสมอ กรรมนี้จะให้ผลยั่งยืนมาก
3.       อาสันนกรรม- กรรมที่บุคคลทำเมื่อจวนสิ้นชีวิต มีอาจภาพให้บุคคลไปสู่สุคติหรือทุคติได้ ถ้าเขาหน่วงเอากรรมนี้เป็นอารมณ์ เมื่อจวนตาย
4.       กตัตตากรรมหรือตัตตาวาปนกรรม กรรมสักแต่ว่าทำ คือทำโดยไม่เจตนา

กรรมจัดตามกาลที่ให้ผลมี 4

1.       ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม- กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน
2.       อัปัชชเวทยีกรรม กรรมที่ให้ผลในชาติต่อไปถัดจากชาติปัจจุบัน
3.       อปราปรเวทนียกรรม กรรมที่ให้ผลหลังจาก อุปัชชเวทนียกรรม คือ ให้ผลเรื่อยไปสบโอกาสเมื่อใด ให้ผลเมื่อนั้น
4.       อโหสิกรรม กรรมที่ไม่ให้ผล เลิกแล้วต่อกัน

รายละเอียดของกรรม 12

เมื่อกรรมนำไปปฏิสนธิในภพใหม่ คือ คนที่ทำกรรมดีไว้ย่อมไปเกิดในภพที่ดี คนทำกรรมชั่ว
ไว้มากไปเกิดในภพที่ชั่วกรรมที่ส่งให้เกิดนั้นเรียกว่า ชนกกรรม (ชนก = ให้เกิด) สมมติว่าชนกกรรมฝ่ายดีส่งเขาให้เกิดในตระกูลที่ดี มั่งคั่งด้วยทรัพย์สินสมบัติและบริวาร มีตระกูลสูง เขาเกิดเช่นนั้นแล้วไม่ประมาท หมั่นหาทรัพย์เพิ่มเติม รักษาทรัพย์เก่าให้มั่นคง มีความเคารพนบนอบต่อผู้ควรเคารพ ถนอมน้ำใจบริวารด้วยการสงเคราะห์เอื้อเฟื้อ พูดจาไพเราะ ทำประโยชน์ให้และวางเหมาะสม การกระทำเช่นนั้นเป็นอุปถัมภกกรรม ช่วยส่งเสริมผลของกรรมดีเก่า รวมกับกรรมใหม่ ทำให้เขามั่งคั่งมากขึ้นมีบริวารดีมาขึ้น
                ตรงกันข้ามถ้าเขาได้ฐานะเช่นนั้นเพราะกุศลกรรมในอนาคตส่งผลให้แล้ว เขามัวเมาประมาท ผลาญทรัพย์สินด้วยอบายมุขนานาประการ มีเกียจคร้านทำการงานและคบมิตรเลวเป็นต้น กรรมของเขานั้นมีสภาพเป็นอุปปีฬก กรรมบีบคั้นเขาให้ต่ำต้อยลงจนสิ้นเนื้อประดาตัว บริวารก็หมดสิ้นถ้าเขาทำชั่วมากขึ้นกรรมนั้นจะกลายเป็นอุปฆาตกรรม ตัดรอนผลแห่งกรรมดีเก่าให้สิ้นไป กลายเป็นคนล่มจมสิ้นความรุ่งเรืองในชีวิต
                อีกด้านหนึ่งสมมติว่า บุคคลผู้หนึ่งเกิดมาลำบากยากเข็ญ ขันสนทั้งทรัพย์และบริวาร รูปร่างผิวพรรณก็ไม่งามเพราะอกุศลกรรมในชาติก่อน หลอมตัวเป็นชนก กรรมฝ่ายชั่ว เมื่อเกิดมาแล้วเขาประกอบกรรมชั่วซ้ำเข้าอีก กรรมนั้นมีสภาพเป็นอุปถัมภกกรรม ช่วยสนับสนุนกรรมเก่าให้ทวีแรงขึ้น ทำให้ฐานะของเขาทรุดหนักลงไปกว่าเดิม
                แต่ถ้าเขาผู้เกิดมาต่ำต้อยเช่นนั้นแล้ว ไม่ประมาทอาศัยความเพียรพยายามในทางที่ชอบ ถือเอาความอุตสาหะเป็นแรงหนุนชีวิตรูจักคบมิตรดี กรรมของเขานั้นมีสภาพเป็นปุปฬกกรรม - บีบคันผลของอกุศลกรรมเก่าให้เพลากำลังลง เขามีความเพียรในทางที่ชอบมากขึ้น ขวนขวายในทางบุญกุศลมากขึ้นกรรมของเขาแปรสภาพเป็นอุปฆาตกรรมหรืออุจเฉทกรรมตัดรอนผลแห่งอกุศลกรรมเก่าให้ขาดสูญ จนในที่สุดเขาเป็นคนตั้งต้นได้ดี มีหลักฐานมั่นคง
                ที่กล่าวมานี้ คือ กรรมที่จัดตามหน้าที่หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า หน้าที่ของกรรม ซึ่งมีลักษณะหน้าที่ให้เกิดอุปถัมภ์บีบคั้นและตัดรอน
                ส่วนกรรมที่ให้ผลและแรงหนักเบาของกรรมนั้นมีความสัมพันธ์กันมาก คือ กรรมหนัก (ครุกรรม) ทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว จะให้ผลในปัจจุบันทันตาเห็น (ทิฆฐธัมมเวทนีย์) ส่วนกรรมที่เป็นอาจิณหรือพหุกรรมนั้น ถ้ายังไม่มีโอกาสให้ผลในชาติปัจจุบัน ก็จะยกยอดไปให้ผลในชาติถัดไป (อุปัชชเวทนีย์) และชาติต่อๆ ไป (อปราปรเวทนีย์) สุดแล้วแต่โอกาสที่ท่านเปรียบเหมือนสุนัขไล่เนี้อทัน เมื่อใดกัดเมื่อนั้น
                กรรมที่บุคคลทำเมื่อจวนสิ้นชีวิต (อาสันนกรรม) นั้น มักให้ผลก่อนกรรมอื่น เพราะจิตไปหน่วงอารมณ์นั้นไว้แน่นไม่ว่าเป็นฝ่ายดีหรือฝ่ายชั่ว กรรมนั้นใกล้จุติจิตและใกล้ปฏิสนธิจิต ท่านว่าแม้บางคราวจะมีกำลังน้อยก็ให้ผลก่อนกรรมอื่นเปรียบเหมือนรถติดไฟแดง เมื่อไฟเขียวอันเป็นสัญญาณให้รถไปได้เปิดขึ้น รถคันหน้าแม้มีกำลังวิ่งน้อยก็ออกได้ก่อน พอผ่านสี่แยกไปแล้ว รถที่มีกำลังดีกว่าย่อมแซงขึ้นหน้าไปได้

หลักการสอน

วิชาการพูดในที่ชุมชน

ความสำคัญของการพูด
                                การพูดเป็นการสื่อสารที่สะดวก  รวดเร็ว  ประหยัด  และมีประสิทธิภาพสูง ทุกคน ทุกอาชีพ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้การพูดด้วยกันทั้งนั้น
                                ในทางพุทธศาสนา ได้จัดการพูดดีไว้เป็นมงคลชีวิต มงคลหนึ่งใน 38 มงคล คือ มงคลที่ 10  สุภาสิตา  อยา  วาจาหมาถึง การมีวาจาสุภาษิต เป็นมงคลชีวิต
                                ... คึกฤทธิ์  ปราโมช  ได้ชี้ถึงความสำคัญของการพูดไว้ในเรื่อง  การพูดสมบัติพิเศษของมนุษย์  ดังนี้
                                ในการเสนอแผนการหรือนโยบายนั้น  บุคคลผู้เสนอจะต้องอาศัยปากอันเป็นเอก หรือการพูดที่ดีเป็นสำคัญ  หากพูดดีแล้วก็ย่อมได้รับการสนับสนุนร่วมมือโดยไม่มีปัญหา แต่ถ้าหากว่าพูดไม่ดี  เป็นต้นวาขาดการใช้ถ้อยคำที่สละสลวยถูกต้อง  หรือขาดสำนวนโวหารอันควรฟัง ลำดับเหตุผลไม่ถูกต้อง ไม่รู้จิตวิทยาชุมชน หรือ ลุแก่โทสะ โมหะ  อย่างใดอย่างหนึ่งในระหว่างที่พูดแล้ว แผนการหรือนโยบายที่ตั้งในจะเสนอนั้น ก็จะล้มเหลวเสียตั้งแต่แรก เพราะขาดผู้สนใจ ขาดผู้สนับสนุน ประโยชน์ที่ควรจะเกิดก็ไม่เกิดขึ้น

วัตถุประสงค์ในการพูด
1.             เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสาร
2.             เพื่อสร้างความเข้าใจ
3.             เพื่อให้เกิดความเชื่อ เห็นคล้อยตาม
4.             เพื่อให้กระทำตามที่ต้องการ
5.             เพื่อบรรยากาศที่ดี

โอกาสในการพูด
1.             การพูดต่อที่ชุมชน
2.             การพูดปราศรัยในงานต่างๆ
3.             การสอน การบรรยาย
4.             การนำเสนอ
5.             การอภิปราย ปาฐกถา โต้วาที
6.             การพูดจูงใจ
7.             การประชุม

แบบในการพูด
-                   ท่องจำ
-                   อ่านจากร่าง
-                   พูดตามหัวข้อ
-                   พูดโดยไม่เตรียมตัว (พูดในสถานการณ์เฉพาะหน้า)

องค์ประกอบในการพูดให้จับใจผู้ฟัง
                องค์ประกอบที่สำคัญในการพูดให้จับใจผู้ฟัง มี 3 ส่วน คือ
1.             ผู้พูด
ประกอบด้วยเรื่องที่ต้องรู้ดังนี้
-                   บุคลิกลักษณะ
-                   การเตรียมตัว
2.             เนื้อหา
ประกอบด้วยเรื่องที่สำคัญคือ
-                   การรวบรวมข้อมูล
-                   การสร้างโครงเรื่อง
-                   การใช้ถ้อยคำภาษา
-                   การใช้สื่อ
-                   การทดสอบความพร้อม
3.             ผู้ฟัง
-                   วิเคราะห์ผู้ฟัง  เพื่อเตรียมตัวพูด

บุคลิกลักษณะที่ดีของผู้พูด
                ลักษณะที่ดี 10 ประการของผู้พูด
1.              รูปร่างหน้าตา
การดูแลรูปร่างหน้าตาให้ดูดี จะช่วยสร้างความพอใจและความยอมรับจากผู้ฟังหรืออย่าง
น้อยก็ไม่ทำให้เกิดความรู้สึกต่อต้านจากผู้ฟัง จึงเป็นสิ่งที่ผู้พูดไม่ควรละเลย
เรื่องที่ควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับรูปร่างหน้าตา คือ
-                   ความสะอาด
-                   ความเรียบร้อย
-                   การจัดให้ดูดี
2.             การแต่งกาย
ไก่งามเพราะขน  คนงามเพราะแต่ง    ยังคงใช้ได้       สำหรับการเป็นผู้พูดที่ประสบ
ความสำเร็จ เพราะการแต่งกายที่ดี  จะนำมาซึ่งความพอใจและความเชื่อถือของผู้ฟัง
                                การแต่งกายที่ดี ควรพิจารณาในเรื่องต่อไปนี้
-                   รูปร่าง
-                   วัย
-                   โอกาส
-                   เวลา
-                   สถานที่
-                   การตกแต่งประดับประดาที่พอดี
-                   การสำรวจตรวจสอบความเรียบร้อย
-                   ความสุภาพ
3.              น้ำเสียง
ผู้พูดต้องพูดเสียไม่เบา  หรือดังเกินไป  โดยคำนึงถึงสถานที่และ จำนวนผู้ฟัง  รู้จักใช้เสียง
หนัก  เบา  มีท่วงทีลีลาและจังหวะในการพูด    มีการเน้นย้ำให้สอดคล้องกับเรื่องที่พูด เพื่อการกระตุ้นผู้ฟังให้สนใจตลอดเวลา
4.              สีหน้า
ผู้พูดต้องแสดงสีหน้าให้สอดคล้องกับเรื่องราวที่พูด  พูดเรื่องเศร้าสีหน้าต้องเศร้า โกรธ สี
หน้าต้องโกรธ  พูดจริง หน้าตาต้องจริงจัง  พูดเล่น หน้าตา (น้ำเสียงด้วย) ก็ต้องให้ผู้ฟังรู้ว่าพูดเล่น ฯลฯ  ผู้ฟังจะคล้อยตามผู้พูดเมื่อสีหน้าผู้พูดแสดงความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติ
               
5.              สายตา
ดวงตาเป็นหน้าต่างของดวงใจ   ใจของผู้พูดเป็นอย่างไร  ตาก็เป็นอย่างนั้น ผู้พูดต้องสบตา
ผู้ฟัง เพื่อให้รู้สึกว่าผู้พูดกำลังพูดกับผู้ฟัง

6.              ท่าทาง
ผู้พูดต้องพูดจากใจ มีความจริงใจ พูดจากความรู้สึกจริงๆ ท่าทางก็ออกไปโดยอัตโนมัติ
อย่างไปกำหนดท่าทางว่า พูดอย่างนี้อย่างนั้นแล้ว ต้องแสดงท่าทางอย่างนี้อย่างนั้น จะทำให้การพูดสะดุดไม่เป็นธรรมชาติ แต่พึงระวัง ในระหว่างที่กำลังพูดอย่าล้วง แคะ แกะ เกา จะทำให้ผู้ฟังไปสนใจกิริยาท่าทางดังกล่าว

7.              ความเชื่อมั่น
ผู้พูดที่ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง จะแสดงความประหม่าให้ผู้ฟังเห็น นอกจากการพูดจะ
ไม่คล่องแล้ว ความประทับใจของผู้ฟังก็จะไม่เกิดขึ้น  ผู้พูดต้องแสดงความเชื่อมั่นให้กับตนเอง คือ ต้องศึกษาหลักการพูด  วิเคราะห์ผู้ฟัง  เตรียมเนื้อหาและฝึกซ้อมจนพูดได้โดยรู้สึกเป็นธรรมชาติ ปราศจากความประหม่า

8.              ความกระตือรือร้น
ผู้พูดที่ดีต้องพูดอย่างมีชีวิตชีวา ไม่เนือย ไม่เฉื่อย เพราะทฤษฎีของการพูดมีอยู่ว่า ผู้พูด
ต้องเป็นผู้กำหนดท่าทีของผู้ฟัง  นั่นหมายความว่า  หากผู้พูดพูดอย่างกระตือรือร้น ผู้ฟังจะ สนใจและกระตือรือร้นในการฟัง

9.              อารมณ์ขัน
ผู้ฟังทุกคนต้องการหาความรู้ ต้อการฟังเรื่องที่มีสาระ แต่ในขณะเดียวกัน  ก็ต้องการความ
สนุกสนานด้วย  หากผู้พูดมีอารมณ์ขัน และใช้อารมณ์ขันให้เหมาะสม กับเรื่องกับโอกาสแล้ว จะประสบความสำเร็จในการพูดเป็นอย่างยิ่ง  ผู้ฟังจะพอใจและประทับใจและมีอารมณ์ร่วมตลอดเวลา อารมณ์ขันจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้พูดมีอารมณ์แจ่มใส มองคนมองโลกในแง่ดี สะสมตัวอย่างตลกขำขัน ไว้มากมายสามารถจะดึงมาให้ได้อย่างไม่หมดสิ้น

10.       ปฏิภาณไหวพริบ
เพื่อใช้แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น  การฝึกฝนให้มีปฏิภาณไหวพริบ จะช่วยคลี่คลาย
สถานการณ์ ทำให้เรื่องร้ายกลายเป็นดี หรือผ่อนคลายจากหนักเป็นเบาลงได้

การเตรียมตัวในการพูด
                                ปัจจัยสำคัญของนักพูดที่ประสบความสำเร็จก็คือ    การเตรียมตัว  การเตรียมตัวเป็นเทคนิคอย่างหนึ่งที่ผู้พูดพึงตระหนักและเข้าใจอย่างถ่องแท้  มักจะเคยเห็นกันอยู่เสมอว่านักพูดบางคนเตรียมตัวมาแล้ว แต่เมื่อขึ้นเวทีพูด ก็ยังเกิดความผิดพลาดและความล้มเหลวอยู่ดี ที่เป็นเช่นนี้เพราะการเตรียมนั้นยังไม่สมบูรณ์หรือไม่ถูกต้อง

                                                                การเตรียมตัวที่ดีและถูกต้อง
                                                                ย่อมนำไปสู่ความสำเร็จในการพูด
                                                                สามารถทำให้พูดแล้วจับใจผู้ฟังได้


ในการเตรียมการพูด ขอให้พิจารณาในเรื่องต่อไปนี้

1.              ผู้พูดเป็นใคร ?
หมายถึง  การวิเคราะห์ตัวผู้พูด 2 ประการ ดังนี้
1.1      ผู้พูดเป็นใครสำหรับผู้ฟัง  ต้องวิเคราะห์ว่าตัวเราเป็นดังนี้หรือไม่
-                   รู้จักกับผู้ฟังดี
-                   เป็นคนมีชื่อเสียง
-                   ผู้ฟังเคยฟัง หรือติดตามการพูดมาก่อน
-                   ไม่เคยได้ยินชื่อเสียงมาก่อนเลย
ถ้าผู้ฟังรู้จัก หรือพอจะรู้จัก ย่อมถือเป็นข้อได้เปรียบในการพูด
1.2      ผู้พูดมีความถนัดในเรื่องที่พูดมากน้อยแค่ไหน มีบุคลิกลักษณะการพูดอย่างไร
-                   เป็นนักพูดสนุกสนาน สร้างบรรยากาศ
-                   เป็นนักพูดเอาจริงเอาจัง
-                   เป็นนักพูดวิชาการ
-                   เป็นนักพูดแบบพูดไปเรื่อยๆ
2.              พูดกับใคร ?
หมายถึง  การวิเคราะห์ผู้ฟัง  ดังคำกล่าวที่ว่า
                        รู้เขารู้เรา  รบร้อยครั้ง  ชนะทั้งร้อยครั้ง
3.              พูดอะไร ?
ผู้พูดต้องทราบถึงรายละเอียดของการพูดอย่างชัดเจน     ต้องทำความเข้าใจกับหัวข้อที่จะพูดอย่าง
ชัดเจนเพื่อใช้ในการเตรียมการพูด  นักพูดที่มีความพิถีพิถันในการพูดมักไต่ถามผู้จัดว่าจะให้พูดในรายละเอียดไปทางด้านใดบ้าง  ผู้ฟังอยากรู้อะไรเป็นพิเศษ   เพื่อความสะดวกในการเตรียมการพูดตรงกับความต้องการของผู้ฟัง    บางครั้งผู้พูดรับทราบหัวข้อการพูดไม่ชัดเจนนำไปเตรียมตัวตามความเข้าใจของตนเอง  อาจทำให้ผิดวัตถุประสงค์ของผู้จัดอย่างสิ้นเชิง
4.              พูดเมื่อไร ?
การวิเคราะห์โอกาสและเวลาในการพูดเป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่ง ความล้มเหลวในการพูดอาจ
มีสาเหตุมาจากโอกาสและเวลาของการพูดไม่เหมาะสมก็ได้

แนวทางในการวิเคราะห์ ควรพิจารณาถึงสิ่งต่อไปนี้
4.1      ความสนใจพิเศษของผู้ฟังมีหรือไม่  การพูดในช่วงที่ผู้ฟังมีความสนใจอะไรอยู่เป็นพิเศษ 
ผู้พูดควรดึงเอาเหตุการณ์ที่มีผู้ฟังสนใจมาประกอบกับเรื่องที่พูดอย่างผสมผสานจะเพิ่มความสนใจในเรื่องที่พูดมากยิ่งขึ้น
4.2      พูดเนื่องในโอกาสอะไร  เพื่อเตรียมรับสถานการณ์การพูดได้อย่างถูกต้อง
4.3      ลำดับรายการเป็นอย่างไร  ก่อนหน้าที่จะมีการพูดรายการนี้ มีรายการอะไรมาก่อน ผู้ฟัง
ประทับใจหรือไม่น่าสนใจ รายการต่อจากการพูดเป็นที่น่าสนใจของผู้ฟังมากน้อยแค่ไหน รายการก่อนหลังนี้ มีผลกระทบถึงจิตใจและอารมณ์ของผู้ฟังให้เปลี่ยนแปลงไปได้
                                4.4  เวลาที่พูดเป็นเวลาอะไร  บรรยากาศในแต่ละช่วงเวลามีความแตกต่างกัน การพูดในตอนเช้าผู้ฟังยังมีความสดชื่นกระปรี้กระเปร่า  พูดเวลากลางวันอากาศมักร้อน  ผู้ฟังบางคนหิวมีอาการกระสับกระส่าย  เวลาพูดเวลาบ่ายผู้ฟังมักง่วงเหงาหาวนอน   พอตอนเย็นผู้ฟังมักห่วงภาระทางบ้าน และอยากพักผ่อน  พูดตอนกลางคืนผู้ฟังมักไม่อยากจะฟัง อยากจะนอน หรืออยากไปเที่ยว การรู้ช่วงเวลาการพูดจะช่วยให้ผู้พูดให้เหมาะสมกับสถานการณ์เวลาในช่วงนั้น
5.              พูดที่ไหน ?
ผู้พูดพึงรู้จัก และทำความคุ้นเคยกับสถานที่ที่จะพูดพอสมควร   การวิเคราะห์สถานที่ควรยึดหลัก
ต่อไปนี้
5.1      บรรยากาศของสถานที่  ร้อนอบอ้าว หรือมีเครื่องปรับอากาศ มีลดพัดเย็นสบาย ความร้อน
อบอ้าวย่อมทำลายสมาธิของผู้ฟังไปส่วนหนึ่ง
5.2      อุปสรรครบกวน  เช่น  มีคนพลุกพล่านผ่านเข้าออกตลอดเวลา  เสียงรบกวนจากภายนอก
เช่น เสียงรถ  เสียงเรือ  เสียงเครื่องจักร ฯลฯ
5.3      ความสำคัญของสถานที่  เพื่อความสะดวกในการแต่งกาย  การวางตัว
5.4      ความพร้อมของสถานที่ ในเรื่องเครื่องเสียง อุปกรณ์ประกอบการพูดมีครบถ้วนหรือไม่
5.5      ความคุ้นเคยกับสถานที่ ถ้ามีความคุ้นเคยอยู่บ้างย่อมได้เปรียบ แต่ถ้าไม่คุ้นเคยควรหาเวลา
ไปสำรวจก่อนการพูด
6.              พูดอย่างไร ?
เมื่อทราบถึงหัวข้อการพูด  วิเคราะห์ผู้ฟัง  ทราบเวลาและสถานที่พูดเรียบร้อยแล้ว ผู้พูดพึงตัดสินใจ
ว่าจะพูดไปในแนวอย่างไร
วัตถุประสงค์การพูดที่สำคัญมี 4 ประการคือ
6.1      พูดเพื่อการจูงใจ เรียกร้องให้ปฏิบัติตาม
6.2      พูดเพื่อการสอน การบรรยาย
6.3      พูดเพื่อความสนุกสนาน
6.4      พูดเนื่องในโอกาสพิเศษ
ผู้พูดที่มีความคล่องในสถานการณ์  ย่อมสามารถที่จะปรับการพูดให้เป็นไปได้ ในทุกรูปแบบ
ถ้าบรรยากาศไม่ดีผู้ฟังเบื่อหน่าย อาจแก้ปัญหาการพูดให้สนุกสนานปลุกการสนใจ ถ้าการพูดเสียเวลามามากอาจตัดตอนให้สั้นลง หรือถ้าผู้ฟังสนใจและมีเวลาเหลืออยู่ อาจขยายความให้มากขึ้น

การสร้างโครงเรื่อง
                                อาคารบ้านเรือนที่มั่นคงสวยงามย่อมต้องมีโครงสร้างที่ดีฉันใด   การพูดที่ดีที่จับใจทำให้คนสนใจฟังได้อย่างต่อเนื่องก็ย่อมต้องมีโครงเรื่องที่ดีฉันนั้น
                                โครงเรื่องที่ดีในการพูด ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ
1.             คำนำหรือคำขึ้นต้น
2.             เนื้อเรื่อง
3.             สรุปจบ
ทั้ง 3 ขั้นตอนนี้ หากทำได้อย่างเหมาะสม จะทำให้คนสนใจได้อย่างแน่นอน
                คำนำหรือคำขึ้นต้น
                                การเริ่มต้นที่ดี สร้างความสนใจให้เกิดขึ้นได้ ย่อมสร้างความศรัทธา ทำให้ผู้ฟังติดตามฟังต่อไป ดังคำกล่าวที่ว่า  การเริ่มต้นที่ดี หมายถึง  สำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่งถ้าเริ่มต้นล้มเหลว ไม่น่าสนใจ ย่อมยามที่จะจุดความสนใจของผู้ฟังขึ้นมาใหม่

                                ลักษณะการขึ้นต้นที่ล้มเหลว
                                การขึ้นต้นลักษณะต่อไปนี้  เป็นการขึ้นต้นที่ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง
1.              ออกตัว
เพื่อเรียกร้องความเห็นใจจากผู้ฟัง เช่น ผมมาพูดวันนี้ ผมไม่ค่อยพร้อมเท่าไหร่หรอกครับ
ไม่รู้ตัวล่วงหน้ามาก่อนเลย ควรจำเป็นบีบบังคับให้ผมต้องมาพูด

2.              ถ่อมตน
เพราะเกรงว่าผู้ฟังจะมีความรู้  มีประสบการณ์มากกว่า  พยายามลดระดับฐานะความรู้
ความสามารถของตนเอง   ฯลฯ   ให้ต่ำกว่าผู้ฟัง   เช่น   เรื่องที่ผมจะพูดในวันนี้     ผู้ฟังเกือบทุกท่านก็มีความรู้ มีประสบการณ์มากกว่าผมหลายเท่านัก

3.              ขอโทษ  ขออภัย
เนื่องจากกลัวว่าจะพูดได้ไม่ดี    พูดผิดพลาด ไม่ถูกต้อง  ถ้าได้ขอโทษหรือขออภัยไว้ก่อน
ผู้ฟังจะได้ไม่โกรธหรือยกโทษให้ เช่น ผมเองก็ไม่ค่อยแน่ใจนักว่า สิ่งที่ผมจะพูดต่อไปนี้ จะถูกต้องตามความเป็นจริงหรือไม่ ถ้ามีส่วนขาดตกบกพร่องไปบ้าง ก็ต้องขอโทษขออภัยท่านผู้ฟังไว้ล่วงหน้าก่อนนะครับ
               
4.              อ้อมค้อม
อ้างเหตุผลนานาประการที่เป็นเรื่องของตนเอง  หรือเหตุการณ์อื่นๆ ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
กับเรื่องที่พูดเลย  เช่น  วันก่อนที่ผมจะมาพูดที่นี่ ผมไปทานอาหารมาครับเป็นอาหารทะเลสดๆ เช้าผมท้องเสีย ถ่ายท้องทั้งวัน จนรู้สึกหมดเรี่ยวแรงแทบจะยืนไม่อยู่

                                ลักษณะการขึ้นต้นดังกล่าวนั้น  ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ฟังเลยแม้แต่น้อย นอกจากจะเป็นการระยายความในใจของผู้พูดออกมาล่วงหน้าไว้ก่อน  ตามหลักการพูดถือเป็นการสูญเสียเวลา และทำลายความสนใจของผู้ฟัง  ไม่ก่อให้เกิดความศรัทธาจากผู้ฟังแต่ประการใด

               

วิธีการขึ้นต้นที่สัมฤทธิ์ผล
                                วิธีการขึ้นต้นต่อไปนี้เป็นวิธีการที่สัมฤทธิ์ผล     สามารถดึงดูดความสนใจจากผู้ฟังได้ในทันที ผู้พูดอาจเลือกวิธีหนึ่งในการขึ้นต้นตามความเหมาะสม
1.              พาดหัวข่าว
การพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์รายวัน รายสัปดาห์ ฯลฯ  ด้วยประโยค หรือ ถ้อยคำที่น่าสนใจ
ติดตาม ผู้อ่านจะมีความรู้สึก และอยากอ่านข่าวรายละเอียดนั้นทันที การพูดก็เช่นกัน  การประยุกต์วิธีการพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์มาใช้ ย่อมทำให้ผู้ฟังอยากฟังต่อว่ารายละเอียดเป็นอย่างไร เช่น
                                เศรษฐกิจเมืองไทยทรุด ชาวบ้านอดอยากกันทุกหัวระแหง
                                ลูกทรพี  ฆ่าแม่  ไม่ยอมให้เงินซื้อผงขาว
                                มีชัยเป็นเหตุ เป็ดตายทั้งเล้า

2.              กล่าวคำถาม
การตั้งคำถามในการเริ่มต้นการพูดจะดึงความสนใจจากผู้ฟังได้ ผู้ฟังอาจนึกตอบคำถามไป
ด้วยในใจ เช่น
                                ท่านทราบไหมว่าถ้าเรายิ้มให้โลกแล้ว โลกจะยิ้มให้เรา
                                ท่านเชื่อหรือไม่ว่าผีมีจริง

การตั้งคำถามนั้นพึงคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
-                   ต้องเป็นคำถามเกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องที่จะพูด
-                   ตั้งคำถามที่ผู้ฟังมีโอกาสตอบหรือคิดตามไปด้วย
-                   ไม่ควรเป็นคำถามซ้อนคำถามหรือมีคำถามมากเกินไป

เมื่อตั้งคำถามผู้ฟังแล้ว  ผู้พูดควรใช้คำเฉลยของคำถาม นำเข้าสู่เนื้อเรื่องที่จะพูดต่อไป

3.              ทำให้เกิดความสงสัย
วิธีการทำให้เกิดความสงสัยนี้ต่างจากวิธีการตอบคำถาม เพราะการขึ้นต้นแบบนี้ไม่เป็น
คำถาม เช่น
ปรากฏการณ์ประหลาดที่ไม่เคยพบมาก่อนในประวัติศาสตร์ชาติไทยได้อุบัติขึ้นแล้ว

ถ้าเปรียบเทียบเป็นคนก็อายุปาเข้าไปตั้ง 50 แล้ว แต่ยังไม่มีอวัยวะครบ 32 สักที

                                เป็นการจุดประกายความอยากรู้อยากทราบของผู้ฟังให้ติดตามต่อไป การใช้วิธีนี้ควรเป็นเรื่องที่น่าสงสัยจริงๆ อย่างสมเหตุสมผล

4.              ใช้วาทะหรือบทกวี
การขึ้นต้นแบบนี้ค่อนข้างจะง่ายและสะดวก  ผู้พูดสามารถสรรหาวาทะคำคม บทกวี ฯลฯ
ที่เหมาะสมมาใช้ได้โดยให้เหมาะสมกับเรื่อง เช่น
                                                เมตตาเป็นธรรมค้ำจุนโลก

                                                ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์              มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
                                แม้พูดชั่วตัวตายทำลายมิตร                               จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา

                                การอ้างบทกวีควรเป็นของบุคคลที่มีชื่อเสียง   เช่น    สุนทรภู่      รัชกาลที่ 6    ศรีปราชญ์  หลวงวิจิตรวาทการ ฯลฯ วาทะหรือบทกวีที่นำมาขึ้นต้นถูกต้อง อย่ากล่าวอ้างให้ผิดเพี้ยนไปจากของเดิม  และไม่ควรใช้บทกวีมากมายหลายบทในตอนเริ่มต้น  เพราะจะทำให้เสียเวลาไปโดยไม่เหมาะสม

5.              ทำให้มีความสนุกสนาน
การขึ้นต้นโดยทำให้ผู้ฟังมีอารมณ์ขันสนุกสนานได้ ย่อมสร้างความสนใจให้ผู้ฟัง   ได้
อย่างมาก แต่เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากและเสี่ยงพอสมควร  ผู้พูดต้องใช้ศิลปะในการสร้างอารมณ์ขัน ประกอบด้วยจึงจะได้ผล เช่น
                                ผู้ชายที่ซวยที่สุดในโลกคือ  ผู้ชายที่มีเมียจู้จี้จุกจิกขี้บ่นตลอดวัน และผู้ชายที่ซวยที่สุดคนนั้น ก็คือ สามีของดิฉันเองแหละค่ะ

                                พูดดีเป็นศรีแก่ปาก พูดมากปากจะมีสี

                เนื้อเรื่อง
                                เมื่อเริ่มต้นเรื่องได้ดีสร้างความสนใจให้กับผู้ฟังแล้ว       การดำเนินเรื่องต้องให้มีความผสมกลมกลืนกับคำขึ้นต้น  บางคนเริ่มต้นดีแต่พอถึงเนื้อเรื่อง กลับล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่า ทั้งนี้ เพราะขาดวิธีการในการดำเนินเรื่องนั่นเอง การดำเนินเรื่องที่ถูกต้อง คือ

1.              ดำเนินเรื่องไปตามลำดับ
ไม่วกไปวนมาจนทำให้ผู้ฟังสับสน การดำเนินเรื่องที่เป็นไปตามลำดับ ควรเริ่มจากจุดแรก
ไปสู่จุดสุดท้ายทีละขั้นตอน  ผู้ฟังจะสามารถติดตามเรื่องไปได้ตลอด หรือการพูดอาจเริ่มจากเหตุไปสู่ผล หรือเริ่มจากผลนำกลับมาสู่เหตุ แล้วแต่ความเหมาะสม

2.              จับอยู่ในประเด็น
เนื้อเรื่องที่พูดต้องอ้างอยู่ในประเด็นของเรื่อง หรือขอบเขตของเรื่องที่กำหนดไว้เสมอ การ
ดำเนินเรื่องออกนอกเขตไปพาดพิงถึงประเด็นอื่นๆ  ทำให้เสียเวลาอย่างมาก และผู้ฟังเกิดความสับสนว่า ผู้พูดกำลังพูดเรื่องอะไรกันแน่   การพูดให้อยู่ในประเด็นนี้ควรมีหัวข้อการพูดคร่าวๆ   อยู่ในใจ  และอธิบายหรือขยายความตามหัวข้อ จะช่วยยึดให้การพูดอยู่ในขอบเขตหรือประเด็นได้มากขึ้น

3.              เน้นจุดมุ่งหมาย
เนื้อเรื่องที่ดีต้องมีจุดมุ่งหมายของเนื้อเรื่องที่แน่นอน มีความสอดคล้องกันโดยตลอด ไม่
ขัดแย้งกันเองในจุดมุ่งหมาย การตอกย้ำจุดมุ่งหมายย่อมทำให้เกิดความชัดเจนของเรื่องมากขึ้น   คำพูดแบบเลื่อนลอยไม่มีจุดหมายย่อมมีผลกระทบ ทำให้ผู้ฟังไม่เข้าใจไปด้วยหรือถ้าเข้าใจก็อาจเข้าใจผิดพลาดไปจากความประสงค์ของผู้พูด

4.              ใช้ตัวอย่างประกอบตามเรื่องราว
บางครั้งผู้ฟังฟังแล้วอาจไม่เข้าใจ ถ้ามีการยกตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวนั้นๆ มา
ประกอบจะช่วยให้ผู้ฟังเข้าใจได้มากและง่ายขึ้น การมีตัวอย่างประกอบจึงช่วยให้เนื้อเรื่องมีน้ำหนัก น่าเชื่อ และเห็นภาพพจน์ การสรรหาตัวอย่างควรหาตัวอย่างง่ายๆ ใกล้ตัวผู้ฟัง ซึ่งอาจเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงๆ อุทาหรณ์ หรือเรื่องราวที่เล่าต่อๆ กันมา

5.              เร่งเร้าความสนใจ
การเร่งเร้าความสนใจของผู้ฟังนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญ    ต้องอาศัยศิลปะการพูด  การวิเคราะห์
ผู้ฟังเข้ามาประกอบด้วย  ถ้อยคำที่น่าสนใจ คำคม การเรียบเรียงดี เป็นปัจจัยในการเพิ่มความสนใจของผู้ฟังให้เพิ่มเป็นลำดับ การสอดแทรกอารมณ์ขันในระหว่างการพูดอย่างเหมาะสม จะช่วยสร้างความสนใจได้ดีเช่นกัน

                สรุปจบ
                                เมื่อขึ้นต้นดี  ดำเนินเรื่องได้อย่างกลมกลืน การสรุปจบก็ต้องสร้างความประทับใจให้กับผู้ฟังเป็นการปิดท้าย  ผู้พูดบางคนล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงในการสรุป เหมือนคำกล่าวที่ว่า ม้าตีนต้นคือดีหรือเก่งเฉพาะในตอนเริ่มเท่านั้น แต่ตอนท้ายกลับได้ไม่ดีคล้าย ตกม้าตายตอนจบผู้พูดต้องนึกไว้เสมอว่า ผู้ฟังจะประทับใจให้คะแนนผู้พูดมากหรือน้อยอยู่ที่ตอนสรุปจบด้วย

                การสรุปจบที่ล้มเหลว
                                การสรุปจบด้วยถ้อยคำหรือประโยคต่อไปนี้มักได้ยินบ่อยๆ เป็นการจบที่ไม่มีคุณค่า และไม่สร้างความประทับใจในการปิดท้ายแต่ประการใด
1.             ขอจบไว้แต่เพียงเท่านี้
ขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้

2.             มีเท่านี้แหละครับ
มีเท่านี้แหละค่ะ

3.             คงจะได้รับประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย

4.             จบด้วยการขอโทษ หรือขออภัย เนื่องจากกลัวว่าจะมีความผิดพลาดหรือไม่ถูกต้อง

การสรุปจบที่สัมฤทธิ์ผล
การสรุปจบที่ได้ผล และสร้างความประทับใจนั้นอาจใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง ดังต่อไปนี้
1.              สรุปความโดยย่อ
จับใจความของเรื่องที่พูดมาทั้งหมด   เน้นในตอนสุดท้ายอีกครั้ง   เพื่อช่วยให้ผู้ฟังเข้าใจ
จดจำเรื่องราวย่อๆ อีกครั้งหนึ่ง การสรุปความนั้นต้องใช้ถ้อยคำที่กระชับสละสลวย ไม่เยิ่นเย้อ เพื่อสรุปอย่างสั้นๆ และได้ใจความมากที่สุด

2.              ข้อร้องให้กระทำ
เป็นการสรุปจบในรูปแบบการพูด เพื่อเรียกร้อง  จูงใจให้ผู้ฟังปฏิบัติตามการสรุปจบแบบนี้
ผู้พูดต้องมั่นใจว่าสามารถความรู้สึกคล้อยตามของผู้ฟัง ตามเนื้อเรื่องที่พูดมาแล้วเป็นอย่างดี เช่น พูดถึงเรื่องความทุกข์ยากของทหาร ตำรวจ  ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ที่ชายแดน    ในตอนสรุป   ผู้พูดต้องการเรียกร้องให้ผู้ฟังช่วยเหลือทหารตำรวจเหล่านั้น

                                                ความทุกข์ยากของพวกเขา  สามารถบรรเทาได้ด้วยความช่วยเหลือ
ของพวกเราชาวไทย  โปรดรวบรวมน้ำใจของท่าน ไม่ว่าจะเป็นเงินทองหรือสิ่งของ
ส่งไปช่วยพวกเขา   ผ่านทางมูลนิธิสายใจไทย เสียตั้งแต่วันนี้และเดี๋ยวนี้ ถ้าพวกเรา
ชาวไทยร่วมมือร่วมใจกันอย่างนี้ แม้เพียงคนละบาท ชาติก็อยู่รอด

                                การแสดงท่าทีจริงใจและจริงจัง จะช่วยให้การสรุปแบบนี้ประสบความสำเร็จมากขึ้น

3.              ฝากนำกลับไปคิด
การจบแบบนี้ผู้ฟังจะมีโอกาสใช้ความคิด      และมีความฝังใจในเรื่องที่ได้ฟังเป็นอย่างดี
คำตอบของผู้ผังจะแตกต่างกันบ้าง แต่ควรอยู่ในจุดประสงค์และจุดมุ่งหมายของผู้พูด เช่น พูดถึงคุณประโยชน์ของการประหยัด ในตอนสุดท้ายเป็นการสรุปจบแบบฝากกลับไปคิด
                                                ท่านลองคิดดูสิว่า  ถ้าท่านประหยัดกันตั้งแต่วันนี้เพียงวันละ 10 บาท
กับบั้นปลายชีวิตของท่าน จะมีเงินจากการประหยัดสักเท่าไร
                                                ผู้พูดต้องระมัดระวังว่า การสรุปจบแบบนี้ ผู้ฟังควรมีโอกาสคิดและหาคำตอบได้ด้วย

4.              ใช้ภาษิต วาทะ หรือบทกวี
วิธีการสรุปจบแบบนี้ค่อนข้างจะง่ายและสะดวก  ภาษิต วาทะ  หรือบทกวีที่นำมาสรุปจบ
นี้ ต้องสัมพันธ์กับเรื่องหรือให้ความหมายสรุปเรื่องที่พูด  เช่น  พูดถึงการเชิญชวนให้บริจาค   อาจจบด้วยบทพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 6
                                                อันความกรุณาปราณี        จะมีใครบังคับก็หาไม่
หลังมาเองเหมือนฝนอันชื่นใจ        จากฟากฟ้าสุราลัยสู่แผ่นดิน

                                พูดถึงโทษและอันตรายของยาเสพติด อาจสรุปจบด้วยคำเตือนใจที่ว่า
                                                สุรา  ยาเสพติด  เป็นภัยต่อชีวิต  เป็นพิษต่อสังคม

5.              เปิดเผยตอนที่สำคัญ
ผู้พูดอาจสร้างความสงสัยให้แก่ผู้ฟัง  เพื่อทำให้ผู้ฟังสนใจและติดตามเรื่องมาโดยตลอด
เมื่อถึงตอนสรุปจบต้องเปิดเผยตอนสำคัญที่ซ่อนเร้น และสร้างความสงสัยไว้นั้น เพื่อทำให้เรื่องจบสมบูรณ์ จังหวะการเปิดเผยต้องเป็นจังหวะที่เหมาะสม  เปิดเผยเมื่อผู้ฟังสงสัยและต้องการรู้มากที่สุด จะช่วยเสริมความพึงพอใจให้กับผู้ฟังมากที่สุด

                                ทั้ง 3   ขั้นตอนไม่ยากเกินความสามารถที่จะทำได้   เพียงให้เวลาบ้างในการเตรียมตัวเท่านั้น รับรองว่าผลลัพธ์ได้คุ้มเกินทุนที่ลงไปแน่

การวิเคราะห์ผู้ฟัง
                ความสำเร็จของผู้พูด ขึ้นอยู่กับความสนใจของผู้ฟัง  ดังนั้น ผู้พูดจึงต้องทำความรู้จักผู้ฟังให้มากที่สุด เพื่อนำมาวางแนวทางการพูด ให้ตรงกับความสนใจของผู้ฟัง และทำให้ผู้ฟังพอใจ ซึ่งคล้ายกับการวางแผนการรบที่ซุนวูได้เคยสอนไว้ว่า

                                รู้กำลังเรา รู้กำลังข้าศึกรบ 100 ครั้ง ก็ชนะทั้ง 100 ครั้ง

                                การวิเคราะห์ผู้ฟัง ควรพิจารณาในเรื่องหลักๆ ดังต่อไปนี้
1.              เพศ
ผู้ฟังแบ่งออกเป็น 2 เพศ คือ
-                   เพศหญิง
-                   เพศชาย

ความสนใจและแนวโน้มทางจิตวิทยามีความแตกต่างกัน ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
        เพศหญิง  โดยส่วนใหญ่มักชอบความละเอียดอ่อน  ประณีต  ชื่นชมความสวยงาม
พิถีพิถันการแต่งกาย ให้ความสนใจกับสังคม ชอบแฟชั่น  ศิลปการแสดง ฯลฯ นอกจากนี้ ผู้หญิงมักเคร่งครัดระเบียบวินัย จุกจิกมากกว่าผู้ชาย  ผู้หญิงมักไม่กล้าแสดงออกในบางประการ เนื่องจากมีความเขินอายตามประเพ
                                                เพศชาย  โดยส่วนใหญ่มักชอบความสบาย  ทำอะไรแบบง่ายๆ ไม่ชอบยุ่งยาก สนใจในเรื่องท้าทาย ความสามารถ  สนใจการเมือง  ชอบคบเพื่อนฝูง  การเที่ยวเตร่  การสังสรรค์  ชอบการตัดสินใจ  ไม่ชอบการดูถูกเหยียดหยาม ฯลฯ

2.              วัย หรือ อายุ
ผู้ฟังโดยส่วนใหญ่มีวัยอยู่ในระดับใด วัยของผู้ฟังแบ่งออกได้ ดังนี้
        วัยเด็ก  อายุตั้งแต่เกิดถึง 15 ปี  มักให้ความสนใจในเรื่องความสนุกสนาน ไม่หนัก
สมอง โดยเฉพาะเรื่องแปลก การผจญภัยที่ให้ความตื่นเต้น  การละเล่นที่น่าสนใจ ชอบการมีส่วนร่วม

                                                วัยหนุ่มสาว  ตั้งแต่อายุ 15 ปีถึงประมาณ 30 ปี ให้ความสนใจในเรื่องความรัก ความสนุกสนานเพลิดเพลิน  ความสะดวกสบายในชีวิตความเป็นอยู่   สนใจสิ่งแปลกๆ    และวิวัฒนาการที่มีความก้าวหน้า ชอบการศึกษาเรียนรู้ ฯลฯ

                                                วัยกลางคน  อายุตั้งแต่ 30 ปีถึงประมาณ 50 ปี มักต้องการความมั่นคงในชีวิตรักการทำงาน ทุ่มเทชีวิตจิตใจให้กับงาน   มีความจริงจัง  ตระหนักถึงความรับผิดชอบ   ชอบการวางแผนอย่างสุขุมรอบคอบ สนใจในเรื่องชีวิตครอบครัว  อยากเห็นความเจริญก้าวหน้าของลูกหลาน ฯลฯ

                                                วัยชรา  อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป มักเป็นคนอนุรักษ์นิยมมากขึ้น  มีความมัธยัสถ์  เก็บหอมรอบริบทรัพย์สมบัติ นึกถึงความหลัง ความสำเร็จในชีวิตที่ผ่านมา ภูมิใจในความสำเร็จของลูกหลาน ฯลฯ

                                                ถ้าผู้พูดวิเคราะห์วัยของผู้ฟังได้อย่างถูกต้องจะสร้างความศรัทธาและเลือกเรื่องได้เหมาะสม ในกรณีที่ความแตกต่างของวัยมีมาก ผู้พูดต้องเตรียมเรื่องที่ผู้ฟังทุกวัยฟังได้และสนใจ

3.             การศึกษา
ระดับการศึกษามีส่วนต่อระดับความเข้าใจของเนื้อเรื่องที่พูด  การพูดที่ดีนั้นต้องมีความ
สอดคล้องกับพื้นฐานการศึกษาของผู้ฟัง อาทิเช่น  ผู้ฟังเป็นผู้มีการศึกษาระดับสูง แนวการพูดที่เป็นวิชาการมีเหตุผลชัดเจน ย่อมเป็นสิ่งที่ผู้ฟังพอใจและเข้าใจ  แต่ถ้าผู้ฟังมีการศึกษาน้อย แนวการพูดต้องเป็นแบบง่ายๆ ฟังแล้วเข้าใจ ไม่เป็นวิชาการมากเกินไป
การวิเคราะห์ในเรื่องการศึกษานี้ถือว่าสำคัญ  ถ้าวิเคราะห์ผิดพลาด ผู้ฟังอาจดูถูกภูมิปัญญา
ของผู้พูดได้ ถ้าระดับการศึกษาแตกต่างกัน ควรสรรหาวิธีการพูดให้ผู้ฟังทุกระดับฟังแล้วรู้เรื่องและเข้าใจ

4.              อาชีพ
ผู้ฟังที่มีอาชีพอะไร มักสนใจไปในแนวทางอย่างนั้น         การฟังเรื่องอะไรมักนำไป
เปรียบเทียบกับเรื่องที่ตนเองประกอบอาชีพอยู่หรือ มีประสบการณ์มาก่อน ความแตกต่างของภูมิประเทศทำให้เกิดความแตกต่างของอาชีพ การพูดในแต่ละสถานที่ การยกตัวอย่างหรือถ้อยสำนวน ควรสอดคล้องกับอาชีพของผู้ฟังโดยส่วนใหญ่  ถ้าผู้ฟังมีหลากหลายอาชีพไม่ควรให้ความสนใจหรือเน้นเฉพาะอาชีพใดอาชีพหนึ่ง

5.              ทัศนคติและความเชื่อ
ผู้ฟังอาจมีความแตกต่างกันในเรื่องทัศนคติและความเชื่อถือ
-                   นับถือศาสนาต่างกัน
-                   ความเชื่อทางการเมืองต่างกัน
-                   ทัศนคติต่อสังคมต่างกัน

6.              ความสนใจพิเศษของผู้ฟัง
การพูดในช่วงที่ผู้ฟังมีความสนใจอะไรอยู่เป็นพิเศษ  ผู้พูดควรดึงเอาเหตุการณ์ที่ผู้ฟังสนใจ
มาก มาประกอบเรื่องที่พูดอย่างผสมผสาน จะเพิ่มความสนใจในเรื่องที่พูดมากยิ่งขึ้นเมื่อรู้จักผู้ฟัง รู้ว่าผู้ฟังชอบ  หรือมีความสนใจในเรื่องใดเป็นพิเศษแล้ว  ผู้พูต้องปรับตัวในการพูดให้สอดคล้องกับผู้ฟัง  การพูดนั้นจะได้รับความสนใจ ผู้ฟังย่อมรับหรือเข้าใจได้ง่าย ซึ่งนั่นคือความสำเร็จของผู้พูด

การรวบรวมข้อมูลในการพูด
                                เมื่อทราบถึงหัวข้อการพูดแล้ว ผู้พูดต้อรวบรวมข้อมูล   หรือวัตถุดิบเพื่อประกอบการพูด ผู้พูดที่ดีควรมีข้อมูลมากพร้อมที่จะพูดได้ทุกเรื่องทุกหัวข้อ การรวบรวมข้อมูลได้จากวิธีการต่อไปนี้
-                   รวบรวมจากประสบการณ์ จะเป็นข้อมูลที่หยิบมาใช้ได้ง่ายที่สุด มีความมั่นใจมากที่สุด
-                   รวบรวมจากการคิดเพิ่มเติม โดยอาศัยความรู้หรือทฤษฎีประกอบ
-                   รวบรวมจากการอ่าน เช่น อ่านหนังสือพิมพ์ เรื่องเขียน นิตยสาร ตำรับตำรา ฯลฯ การอ่าน
ไม่จำเป็นต้องจดจำได้หมดเสมอไป จดจำเพียงเรื่องที่คิดว่าสนใจ หรือน่าจดจำก็พอ
-                   รวบรวมจาการสังเกตจดจำ พบอะไรแปลกน่าสนใจก็จดจำไว้
-                   รวบรวมจาการฟัง การอภิปรายปาฐกถา บรรยาย บันเทิง ฯลฯ
-                   รวบรวมจาการสนทนา หรือสัมภาษณ์จากผู้รู้

การใช้ถ้อยคำภาษา
                                จุดมิ่งหมายที่สำคัญต่อการพูด คือ ความเข้าใจของผู้ฟัง แต่บางครั้งการใช้ถ้อยคำภาษาที่ผิดความหมาย หรือไม่เหมาะสม ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ไม่สามารถบรรลุจุดมุ่งหมายได้ เนื่องจากผู้ฟังไม่เข้าใจ ดังนั้น จึงต้องให้ความสำคัญต่อถ้อยคำภาษาในการพูด ดังนี้

1.             ใช้ถ้อยคำที่เข้าใจง่าย
ไม่ควรพูด้วยคำที่ยาก ต้องแปลไทยเป็นไทยจึงจะเข้าใจ ซึ่งมักจะเป็นพวกศัพท์เฉพาะทาง
วิชาการ เช่น พิชาน มโนทัศน์  หรือคำที่มีความหมายกำกวม ตีความได้หลายแง่ ตลอดจนคำต่างประเทศ ยกเว้นในกรณีที่ไม่มีคำภาษาไทยที่ง่ายต่อความเข้าใจ

2.             ออกเสียงอย่างถูกต้อง
คำควบกล้ำ  ตัว    ตัว    ต้องออกเสียได้ชัดเจน มิฉะนั้นจะทำให้ความหมายของคำ
เปลี่ยนแปลงไป เช่น ข่าวคราว ถ้าออกเสียงไม่ชัดจะกลายเป็น ข่าวคาว เป็นต้น

3.             หลีกเลี่ยงการใช้ศัพท์สแลง
ยกเว้นในกรณีที่เป็นคำที่มีความหมายสุภาพ สังคมยอมรับและเป็นที่เข้าใจได้โดยทั่วไป

4.             หลีกเลี่ยงการใช้คำย่อ
โดยเฉพาะคำย่อ ที่มีผู้เข้าใจเฉพาะกลุ่ม  ไม่เป็นที่รู้กันโดยแพร่หลาย เช่น  ผบ.  สส.  ทส. 
... ฯลฯ

5.             ใช้คำพูดที่กระทัดรัด กระชับ ได้เนื้อหา โดยไม่ต้องอ้อมค้อม หรือใช้คำอย่างฟุ่มเฟือย

การใช้สื่อประกอบการพูด
                                ภาพเพียงภาพเดียว สื่อความหมายได้ดีกว่า คำพูดพันคำ  ข้อความนี้ชี้ความสำคัญของการใช้สื่อได้อย่างชัดเจน อีกตัวอย่างหนึ่ง เช่น  ในการอธิบายเส้นทางไปยังจุดหมายใดจุดหมายหนึ่ง ระหว่างการพูดอธิบายเพียงอย่างเดียว  กับ  การพูดอธิบายโดยมีแผนที่ประกอบ   แบบไหนจะทำให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายและถูกต้องมากกว่ากัน การใช้สื่อจึงมีประโยชน์มาก แต่ต้องพิจารณาเลือกสิ่งที่เหมาะสมด้วย
ตัวอย่างของสื่อ
-                   แผนภูมิ (CHART)
-                   แผนสถิติ (GRAPH)
-                   โปสเตอร์ (POSTER)
-                   แผนภาพ (DIAGRAM)
-                   แผนที่ (MAP)
-                   รูปภาพ การ์ตูน
-                   แผ่นโปร่งใส
-                   ภาพนิ่ง (SLIDE)
-                   แถบบันทึกเสียง
-                   วิดีโอ
-                   คอมพิวเตอร์

การใช้สื่ออย่างมีประสิทธิภาพ
                ในการใช้สื่อขอให้พิจารณาในเรื่องต่อไปนี้
1.             วัตถุประสงค์ที่ชัดเจน
การใช้สื่อมิใช้เพียงเพราะส่วนใหญ่ใช้ จึงต้องใช้ด้วย หรือเพื่อให้ดูดี มีความทันสมัย  แต่
ต้องพิจารณาถึงประโยชน์ต่อการพูดเรื่องนั้นด้วย เช่น เพื่อให้ผู้ฟังมีความสนใจมากขึ้นเข้าใจได้ง่ายขึ้น  รวมทั้งในบางกรณี อาจเพื่อต้องการให้ผู้ฟังเกิดความผ่อนคลายจากเนื้อหาสาระที่ค่อนข้างหนักก็เป็นได้

2.             พิจารณาข้อจำกัดต่างๆ
2.1      เวลา
การพูดบางเรื่อง เมื่อมีเวลาพูดน้อย การใช้สื่ออาจไม่จำเป็นและจะทำให้เสียเวลา
ไปโดยไม่จำเป็นอีกด้วย แต่สำหรับบางเรื่องยิ่งมีเวลาน้อย การใช้สื่อจะยิ่งช่วยให้เข้าใจได้ดีขึ้น จึงต้องพิจารณาเรื่องเวลาด้วยในการเลือกใช้สื่อ
                               
2.2      สถานที่
สื่อที่จะใช้สามารถมีใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ในสถานที่นั้น เช่นความมืด
หรือ ความสว่างของสถานที่ตลอดจนองค์ประกอบต่างๆ ของสถานที่

2.3      จำนวนผู้ฟัง
สื่อที่เลือกเหมาะสมกับผู้ฟังหรือไม่ บางสื่ออาจไม่เหมาะกับผู้ฟังจำนวนมากก็ได้
จึงต้องพิจารณาเรื่องนี้ด้วย

2.4      ความพร้อมของอุปกรณ์ เครื่องมือ
สื่อที่ค่อนข้างทันสมัยมากอาจจะไม่สะดวกกับสถานที่บางแห่ง เช่น จะใช้ power
point แต่ในห้องประชุมไม่มีอุปกรณ์ที่จะฉายภาพจากเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นต้น
3.             จัดเตรียมอย่างเหมาะสม
-                   มีความชัดเจน
-                   รูปแบบเข้าใจได้ง่าย
-                   มีประโยชน์
-                   เหมาะสมกับเนื้อหา
-                   เหมาะสมกับผู้ฟัง
-                   เหมาะสมกับเวลา
-                   มีความน่าสนใจ (ความสวยงาม)
-                   ผู้พูดมีความถนัดในการใช้สื่อนั้น

4.             ตรวจสอบความพร้อมและความถูกต้อง
มีตัวอย่างจำนวนไม่น้อยที่เกิดขึ้นมีความผิดพลาด เพราะผู้พูดไม่ได้ตรวจสอบความพร้อม
และความถูกต้องให้ดีก่อนการพูด โดยเฉพาะในกรณีที่มีผู้จัดเตรียมสื่อให้ ยิ่งต้องระมัดระวัง มิฉะนั้นอาจเกิดกรณีที่สื่อกับเรื่องที่พูดเป็นคนละเรื่องกัน ซึ่งเคยเกิดขึ้นมาแล้ว

5.             ฝึกซ้อมการใช้สื่อ
ในกรณีที่เป็นสื่อที่ไม่คุ้นเคย หรือมีความซับซ้อนทางเทคโนโลยี ผู้พูดควรซักซ้อม  หรือ
ฝึกฝนการใช้จนมีความชำนาญพอสมควรก่อนวันที่จะพูด

การทดสอบความพร้อม
                                ขั้นตอนการทอดสอบความพร้อมและความมั่นใจนี้ จะช่วยให้ผู้พูดมีความมั่นใจในการพูดและพูดได้ตรงความตั้งใจมากที่สุด  โดยทั่วไปมักพบว่าการพูดมีอุปสรรคที่สำคัญ คือ สิ่งที่เตรียมมาไม่ได้พูด แต่สิ่งที่พูดไม่ได้เตรียมหรือ พูดไม่ครบเนื้อหาที่เตรียมไว้  ปัญหานี้ย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ ผู้พูดที่ดีพึงระมัดระวังไม่ให้ปัญหานี้เกิดขึ้นโดยวิธีการดังนี้
1.             ฝึกซ้อมพูด
การฝึกซ้อมพูดอาจทำได้ 2 วิธี แล้วแต่ความเหมาะสม
-                   ฝึกซ้อมคนเดียว  ในสถานที่ที่เหมาะสม ไม่มีใครรบกวน เช่น ฝึกซ้อมในห้องนอน
คนเดียว ในห้องน้ำ ในรถยนต์ ฯลฯ
-                   ฝึกซ้อมกับเพื่อนฝูง  ครอบครัว โดยสมมติว่าคนในครอบครัว  หรือ  เพื่อนฝูงเป็น
ผู้ฟัง การซ้อมแบบนี้ จะได้สภาพการพูดใกล้เคียงกับความเป็นจริง

2.             แก้ไขเพิ่มเติมในส่วนที่ยังบกพร่อง
เมื่อผ่านขั้นตอนการฝึกซ้อมแล้ว  ผู้พูดที่ดีควรทบทวนว่ายังมีส่วนใดที่บกพร่อง ถ้อยคำ
่สละสลวยขาดความต่อเนื่องหรือไม่ ถ้ามีต้องปรับปรุงเพิ่มเติมจะช่วยให้เนื้อเรื่องสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

บทสรุป

                ทุกคนสามารถพูดอย่างจับใจผู้ฟังได้  เพียงแต่ต้องตระหนักถึงความสำคัญของการพูดเสียก่อน มีการตระเตรียมให้เพียงพอ  รวมทั้งฝึกฝนจนชำนาญ และที่สำคัญซึ่งจะลืมเสียมิได้ คือ ต้องคิดก่อนพูด เหมือนดังที่ท่านสุนทรภู่ได้สอนไว้ว่า

                                เป็นมนุษย์สุดนิยมเพียงลมปาก      จะได้ยากหรือโหยหิวเพราะชิวหา
แม้นพูดดีมีคนเขาเมตตา                                    จะพูดจาจงพิเคราะห์ให้เหมาะความ